วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ห้องสมุด

ความหมายของห้องสมุดคำว่า ห้องสมุด (Library) หมายถึง การจัดเก็บรวบรวมวัสดุที่ใช้บันทึกความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบ มีการจัดดำเนินการเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ ความหมายของห้องสมุด คือ สถาบันที่ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทุกรูปแบบทั้งที่เป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ วัสดุโสตทัศน์และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดองค์กรบริหารและดำเนินการตามระบบสากล ในฐานะที่เป็นสถาบันสำคัญของสังคมที่ทำหน้าที่สร้างสม สืบทอดและเผยแพร่มรดกทางความคิด ภูมิปัญญา ประสบการณ์ กิจกรรมการค้นคิดตลอดจนวิชาการใหม่ ๆ เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างสรรค์ พัฒนา และความเจริญก้าวหน้าของสังคมต่อไป ปัจจุบันมีการจัดระบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่เป็นห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) ห้องสมุดมัลติมีเดีย (Multimedia Library) หรือห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) เป็นต้น ประเภทของห้องสมุด การแบ่งประเภทของห้องสมุดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ
1. หอสมุดแห่งชาติ (National Library) หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และวัสดุที่เป็นสื่อความรู้ทุกชนิด จัดให้ใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และเผยแพร่สื่อและวัสดุเหล่านั้น เช่น หอสมุดวชิรญาณ หอสมุดดำรงราชานุภาพ หอสมุดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หอสมุดแห่งชาติสาขาเชียงใหม่ เป็นต้น
2. ห้องสมุดประชาชน (Public Library)หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกคน ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมวิชาการ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับความรู้ที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์และความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ
3. ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (Academic Library) หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมสถาบันการศึกษาของตนให้ดำเนินการจัดการศึกษาและการวิจัยไปสู่จุดหมายปลายทางที่วางไว้ โดยการจัดบริการทางวิชาการ ส่งเสริมการเรียนการสอนการศึกษา การค้นคว้าวิจัยในทุกสาขาวิชาของสถาบัน การพัฒนาการทางด้านวิชาการต่าง ๆ
4. ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ สร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน เกิดทักษะในการใช้วัสดุสิ่งพิมพ์ และวัสดุการศึกษาอื่น ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การใช้ห้องสมุด หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
5. ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงาน ทำหน้าที่เก็บรวบรวมวัสดุห้องสมุดในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องที่มีเนื้อหาทันสมัย ทำหน้าที่เป็นศูนย์เอกสาร หรือศูนย์สารนิเทศ โดยเน้นการให้บริการด้านสารนิเทศแก่บุคลากรในหน่วยงานเป็นสำคัญ เช่น ห้องสมุดคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทุกแห่ง


งานบริการห้องสมุด

ลักษณะงานของห้องสมุดห้องสมุดโดยทั่วไปจะมีงานหลัก 3 ประเภทคือ
1. งานบริหาร (Administration, Management) ประกอบด้วยการกำหนดนโยบาย งานการเงิน งานธุรการ งานอาคารสถานที่ จัดทำสถิติและรายงาน เป็นต้น
2. งานสนับสนุนกิจกรรม (Supporting Activities) ประกอบด้วยงานเทคโนโลยีสารนิเทศ งานพัฒนาทรัพยากร งานจัดทำวัสดุห้องสมุด เป็นต้น
3. งานบริการและกิจกรรม (Service and Activities) ประกอบด้วยงานบริการพื้นฐานและบริการพิเศษอื่นๆ งานกิจกรรม ได้แก่ การจัดนิทรรศการ ปาฐกถา เสวนา อภิปราย โต้วาที เป็นต้นบริการของห้องสมุดบริการของห้องสมุดเป็นงานที่ผู้ใช้จะได้รับประโยชน์โดยตรง
บริการที่สำคัญมีดังนี้ คือ
1. บริการอ่าน (Readers’ Service) เป็นบริการเพื่อให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าหาความรู้ภายในห้องสมุดจากวัสดุห้องสมุดทุกชนิดตามความต้องการและความสนใจของแต่ละคน โดยการอ่าน ดู และฟัง
2. บริการยืม – คืน (Circulation Service) คือการอนุญาตให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกของห้องสมุดยืมวัสดุห้องสมุดออกจากห้องสมุดได้ตามระเบียบการให้บริการยืม- คืนที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้
3. บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library Loan Service) คือ บริการที่ห้องสมุดจัดยืมหนังสือหรือวัสดุห้องสมุดที่ไม่มีอยู่ในห้องสมุดของตนจากห้องสมุดอื่นมาให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ วัสดุที่ยืมอาจเป็นตัวจริงหรือสำเนา ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
4. บริการเลือกเผยแพร่สารนิเทศ (Selective Dissemination of Information) คือบริการที่ให้ผู้ใช้แจ้งความประสงค์ว่าต้องการสารนิเทศในเรื่องใด สาขาวิชาใด โดยห้องสมุดจะวิเคราะห์คัดเลือกสารนิเทศใหม่ ๆ จัดทำเป็นสาระสังเขป ดรรชนี บรรณานุกรม หรือแจกจ่ายข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ เป็นต้น
5. บริการหนังสือจองหรือหนังสือสำรอง (Reserve Book Service) คือการจัดการจองหนังสือที่ผู้ใช้ต้องการแต่มีผู้อื่นยืมอยู่ก่อนแล้วตามลำดับการจอง หรือจัดแยกหนังสือหรือวัสดุห้องสมุดที่มีผู้ต้องการใช้เป็นจำนวนมาก แต่ห้องสมุดมีน้อยไว้ต่างหาก จัดให้ยืม- คืนตามกำหนดเวลาที่สั้นกว่าปกติ เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้ใช้โดยทั่วถึง
6. บริการเอกสารสนเทศ (Reference and Information Service) หรือบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า มีทั้งบริการตอบคำถามทั่ว ๆ ไป และคำถามวิชาการที่ต้องใช้เวลาค้นคว้า หรือการจัดหาวัสดุห้องสมุดที่มีคำตอบที่ผู้ใช้ต้องการ อาจสอบถามโดยตรงภายในห้องสมุด หรือทางไปรษณีย์ ทางโทรศัพท์ หรือใช้ระบบออนไลน์ก็ได้
7. บริการดรรชนี (Indexing Service) คือการจัดหาและจัดทำดรรชนีบทความจากวารสารในรูปแบบของบัตรดรรชนี หรือในรูปเล่มของหนังสือ วารสาร หรือจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาบทความที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็ว
8. บริการบรรณานุกรม (Bibliography Service) คือ การจัดหาบรรณานุกรม หรือจัดทำบรรณานุกรมวัสดุห้องสมุดทั่วๆ ไป หรือในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความประสงค์ของผู้ใช้ในการค้นคว้าวิจัย
9. บริการสาระสังเขป (Abstracting) คือการย่อเนื้อหาสาระที่สำคัญจากบทความ หรือเรื่องในหนังสือ หรือวัสดุห้องสมุดชนิดอื่น ตามนโยบายและความประสงค์ของผู้ใช้ อาจทำออกในรูปของวารสาร หรือฐานข้อมูลก็ได้
10. บริการแปล (Translation Service) สำหรับสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีความรู้ ความชำนาญในภาษานั้นๆ โดยการร่วมมือของนักวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญในภาษานั้นๆ เป็นผู้ให้บริการ11. บริการสอนการใช้ห้องสมุด (Library Instruction Service) ซึ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือการสอนอย่างเป็นทางการ ซึ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) การปฐมนิเทศ (Orientation) คือการแนะนำให้ผู้ใช้รู้จักวัสดุห้องสมุดเทคนิคและวิธีการใช้วัสดุห้องสมุด กิจกรรม และบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งการนำชมห้องสมุด
2) การสอน (Instruction) เพื่อให้รู้แหล่งข้อมูลและวิธีใช้วัสดุห้องสมุดทุกชนิด วิธีการจัดเก็บ การค้นหาข้อมูล การเขียนรายงาน หรือภาคนิพนธ์ แนะนำให้ผู้ใช้รู้จักวิธีค้นคว้าวิจัยในระดับสูง
11. การสอนอย่างไม่เป็นทางการ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเอกสารประชาสัมพันธ์งานห้องสมุด จัดทำคู่มือแนะนำห้องสมุด คู่มือการใช้วัสดุอุปกรณ์ คู่มือการสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและให้ความร่วมมือกับอาจารย์ในการทำหนังสืออ่านประกอบ
12. บริการข่าวทันสมัย (Current Awareness Service) เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในวิชาการที่เกี่ยวข้องให้เร็วที่สุด โดยการทำสำเนาสารบาญเรื่องในวารสารเล่มใหม่ล่าสุด ที่ห้องสมุดได้รับออกเผยแพร่แก่ผู้ใช้ แจ้งรายการวัสดุต่าง ๆ ที่ได้รับ และการหมุนเวียนวารสารเล่มใหม่ โดยการส่งต่อ ๆ กันไปตามรายชื่อผู้ใช้และตามกำหนดเวลา หรือจัดทำรายงายข่าวในรูปแบบของสิ่งพิมพ์หรือจัดทำเป็นฐานข้อมูล
13. บริการคู่มือการใช้ห้องสมุด โดยจัดทำเป็นจุลสาร แผ่นพับ หรือแผ่นปลิวแจกแก่ผุใช้มีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ วัสดุห้องสมุด และบริการต่างๆ
14. บริการทำสำเนา (Copying Service) การถ่ายสำเนาเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือสำเนาจากฐานข้อมูล สำเนาสื่อวัสดุโสตทัศน์ เป็นการประหยัดเวลาละลดการยืมวัสดุออกจากห้องสมุดด้วย
15. บริการโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์ (Audio – Visual Service) คือ การบริการให้ใช้โสตทัศนวัสดุภายในห้องสมุด หรือทำสำเนาตามความประสงค์ของผู้ใช้หรือจัดทำวัสดุโสตทัศน์ออกเผยแพร่
16. บริการพิมพ์ (Printing Service) โดยการการจัดเครื่องพิมพ์ไว้ให้ใช้ หรือจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์ออกเผยแพร่ หรือบริการพิมพ์รายงาน วิทยานิพนธ์ งายวิจัยต่างๆ ตามความประสงค์
17. บริการช่วยการวิจัย (Research Service) คือการช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดที่กำลังค้นคว้าวิจัยโดยการจัดหา ติดตาม รวบรวมข้อมูลห้องสมุดชนิดต่าง ๆ ในสาขาวิชาหรือเรื่องราวที่ผู้ใช้ต้องการหรือจัดทำคู่มือ เครื่องช่วยค้น เพื่อความสะดวกและเป็นประโยชน์ในการค้นคว้า บริการช่วยการวิจัย ซึ่งจะต้องจัดบริการในลักษณะอื่นประกอบ เช่น บริการยืมข้อมูลระหว่างห้องสมุด และบริการสืบค้นข้อมูลทางไกล บริการสารนิเทศอย่างละเอียด เป็นต้น
18. บริการสืบค้นสารนิเทศ (Information Service) คือการสืบค้นข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง โดยมุ่งเน้นให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศอย่างสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว ตามความต้องการ โดยการสืบค้นข้อมูลจากภายในห้องสมุด หรือสืบค้นข้อมูลแบบออนไลน์
19. บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ (Mobile Library Service) คือการจัดทำห้องสมุดเคลื่อนที่ไปให้บริการตามสถานที่ต่างๆ หรือท้องถิ่นห่างไกลที่ประชาชนมาใช้ห้องสมุดไม่สะดวก
20. บริการพิเศษอื่น ๆ บางห้องสมุดอาจมีบริการพิเศษอื่นๆ ที่แตกต่างจากห้องสมุดอื่น เช่น จัดปาฐกถาพิเศษ จัดการแสดง นิทรรศการ จัดฉายภาพยนตร์ จัดหาสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์จากต่างประเทศ หรือมีโรงพิมพ์อยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และนโยบายของห้องสมุดนั้นๆ



วัสดุห้องสมุด
วัสดุห้องสมุดความหมายของวัสดุห้องสมุดวัสดุห้องสมุดหรือทรัพยากรสารนิเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร วิชาการต่างๆ ตลอดจนความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ประโยชน์ของวัสดุห้องสมุด
1. เป็นบันทึกแห่งภูมิปัญญาของมนุษย์ ใช้สืบทอดความคิด ความรู้ เรื่องราวต่างๆ ศิลปะ วัฒนธรรม อารยธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง วิชาความรู้เหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองของสังคมมนุษย์
2. ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร จากวัสดุห้องสมุดซึ่งมีอยู่หลายประเภทหลายรูปแบบช่วยขจัดความไม่รู้ในเรื่องต่าง ๆ และสร้างสติปัญญา
3. ใช้ข้อมูลจากวัสดุห้องสมุดที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลาจะช่วยในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความรู้ ข้อมูลต่าง ๆ จากวัสดุห้องสมุดก่อให้เกิดการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
5. ความรู้จากวัสดุห้องสมุดบางชนิดก่อให้เกิดความจรรโลงใจ ความซาบซึ้ง เกิดความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการคิดและทำสิ่งที่ดีงามมีคุณค่าแก่การดำเนินชีวิต
6. หนังสือบางเรื่อง โสตทัศนวัสดุบางชนิดทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีผลสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขได้ไม่น้อยไปกว่าความต้องการด้านอื่น ๆ
ประเภทของวัสดุห้องสมุดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. วัสดุสิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
2. วัสดุโสตทัศน์หรือวัสดุไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (Audio – Visual Materials or Non- Printed Materials)3. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials)วัสดุสิ่งพิมพ์ (Printed Materials)วัสดุสิ่งพิมพ์ หมายถึง สิ่งตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ แบ่งออกเป็น
1. หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม ในเล่มหนึ่งมีเพียงเรื่องเดียวหรือหลายเรื่องก็ได้ เนื้อหาจบภายในเล่มเดียว หรือหลายเล่ม แบ่งย่อยได้ดังนี้คือ
1.1 หนังสือบันเทิงคดี (Fiction Book) คือสิ่งพิมพ์ที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือประสบการณ์ของผู้แต่ง เพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินใจของผู้อ่าน อาจแทรกข้อคิด คติชีวิตในแง่มุมต่างๆ
1.2 หนังสือสารคดี (Non - Fiction Book) คือสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริง ทฤษฎี แนวคิด สูตรต่าง ๆ ที่ถูกต้อง แบ่งย่อยได้เป็น
1) ตำราวิชาการ (Text Books) คือหนังสือที่เขียนโดยครอบคลุมเนื้อหารายวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างครบ
2) หนังสืออ่านประกอบ คือหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่ออ่านประกอบเนื้อหาวิชาทั้งหลาย โดยมีเนื้อหาละเอียด เจาะลึก เพื่อให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าได้
3) หนังสือความรู้ทั่วไป คือหนังสือที่ผู้เขียนค้นคว้าเรียบเรียงขึ้นตามความสนใจของตนเป็นการเสนอความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
4) หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือหนังสือที่มีลักษณะพิเศษ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ ข้อเท็จจริงในสาขาวิชาต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
5) สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications) คือหนังสือหรือเอกสาร วารสารที่ผลิตโดยหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ อาจเป็นรายงานประจำปี รายงานประชุมทางวิชาการ
6) วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ (Theses or Dissertations) คือ รายงานการค้นคว้าวิจัยที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อประกอบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
7) สิทธิบัตร (Patents) คือเอกสารที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยผู้ขอสิทธิบัตรต้องการได้รับการคุ้มครองสิทธิในการผลิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
8) เอกสารมาตรฐาน (Standards) คือเอกสารที่ระบุข้อกำหนดรายการอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวกับรูปแบบ ขนาด คุณภาพ ส่วนประกอบ วิธีใช้ ฯลฯ ตลอดจนข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ผลิตภัณฑ์
9) คู่มือสถานศึกษา (School Catalogs) หรือคู่มือนักศึกษา คือหนังสือที่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานศึกษานั้น
10) รายงานการวิจัย รายงานทางเทคนิค (Research Reports, Technical Reports) คือรายงานที่เขียนถึงผลการค้นคว้า การทดลอง การวิจัย เสนอต่อหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน หรือต่อสาธารณชน
11) รายงานการสัมมนา (Seminar Reports) คือเรื่องย่อ หรือสาระสังเขป หรือบทความซึ่งเป็นผลของการค้นคว้าวิจัยที่เสนอต่อที่ประชุมวิชาการ หรือการสัมมนา จัดพิมพ์แจกแก่สมาชิกผู้เข้าร่วม ประชุม2. จุลสาร (Pamphlets) คือ สิ่งพิมพ์เล่มเล็กๆ มีความยาวประมาณ 60 หน้า
2. กฤตภาค (Clippings) คือ สิ่งพิมพ์ที่ตัดออกจากสิ่งพิมพ์อื่น โดยตัดมาจากวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ อาจเป็นรูปภาพ ข่าวสาร บทความ บทวิเคราะห์ หรือข้อความที่สำคัญ มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า
3. ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscripts) คือ บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือพิมพ์แต่ยังมิได้พิมพ์เผยแพร่
4. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) คือ สิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
4.1 วารสาร (Journals) คือสิ่งพิมพ์ที่กำหนดระยะเวลาออกไว้แน่นอน ให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริงที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์กว่าสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น วารสารแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1) วารสารวิชาการ (Journals) คือวารสารที่เสนอความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
2) วารสารวิจารณ์ (Reviews Journals) คือวารสารที่เสนอความรู้ ข้อวิจารณ์ของผู้เขียนไว้ด้วย มีการวิเคราะห์ข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ตามข้อเท็จจริงทุกแง่มุม
3) นิตยสาร (Magazines) คือวารสารที่มุ่งเสนอความบันเทิงและเกร็ดความรู้เป็นหลัก
4.2 หนังสือพิมพ์ (Newspaper) คือสิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นรายวัน ราย 3 วัน รายสัปดาห์ เสนอข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ปัจจุบันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
4.3 หนังสือรายปี (Yearbooks) คือสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องกันเป็นรายปีวัสดุโสตทัศน์หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์ (Audio - Visual Materials or Non - Printed Materials)วัสดุโสตทัศน์ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูลโดยเน้นการใช้ภาพและสัญลักษณ์อื่นๆ นอกเหนือจากตัวพิมพ์ โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ทางตา และช่วยให้เข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น
วัสดุโสตทัศน์แบ่งออกได้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) คือการใช้ภาพ สัญลักษณ์ และคำประกอบเข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายเรื่องราว ผู้ใช้อาจดูได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจใช้อุปกรณ์ช่วยในการดูก็ได้ ได้แก่
1.1 แผนสถิติ (Graphs) คือการแสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือแผ่นภาพ ที่ใช้เส้นหรือจุดเป็นสัญลักษณ์แทนสัดส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน
1.2 แผนภูมิหรือแผนภาพ (Charts and Diagrams) คือวัสดุที่ใช้ภาพ สัญลักษณ์ ตัวเลขและตัวหนังสือประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน
1.3 การ์ตูน (Cartoon) คือภาพลายเส้นที่ใช้ล้อเลียนบุคคล แนวความคิด จัดทำขึ้นเพื่อโน้มน้าวทัศนคติของผู้ดู
1.4 ภาพโฆษณา (Poster) คือวัสดุที่ใช้ลายเส้น ภาพ รูปภาพ จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารข้อมูลและดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและเพื่อจูงใจ
1.5 ภาพนิ่ง (Slide) คือภาพที่ถ่ายลงบนฟิล์ม หรือวาดลงบนแผ่นพลาสติกโปร่งแสงผนึกในกรอบ มีทั้งสี ขาวดำ โดยอาจมีคำบรรยายในรูปของวัสดุบันทึกเสียงหรือสิ่งพิมพ์
1.6 ภาพเลื่อน (Filmstrip) คือภาพนิ่งบันทึกบนฟิล์มขนาด 35 มม. ยาวประมาณ 20-60 ภาพ เรียงลำดับต่อกันและมีคำบรรยายในภาพหรือแยกต่างหากในรูปของวัสดุบันทึกเสียงหรือสิ่งพิมพ์
1.7 ภาพโปร่งใส (Transparence) หรือแผ่นใส เป็นแผ่นพลาสติกใส ใช้บันทึกภาพ ข้อความ เรื่องราวต่างๆ สามารถลบและเพิ่มเติมรายละเอียดได้ ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศรษะ (Overhead Projector)
1.8 รูปภาพ (Picture Photograph) คือภาพนิ่งที่แสดงเรื่องราว เหตุการณ์ บุคคลหรือศิลปะ ภาพสถานที่
1.9 แผนที่ (Map) คือภาพและลายเส้นที่แสดงลักษณะต่างๆ ของพื้นผิวโลกและสภาพทางภูมิศาสตร์
1.10 หุ่นจำลอง (Model) คือวัสดุสามมิติของจริงที่ใหญ่หรือเล็กเกินไปหรือไม่สามารถใช้ของจริงได้ สร้างขึ้นให้มีลักษณะเหมือนของจริงหรือเลียนแบบของจริง
1.11 ของตัวอย่าง (Specimen) คือ ของจริงที่ช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
1.12 วัสดุย่อส่วน (Microform) คือวัสดุที่ได้จากการถ่ายภาพย่อส่วนของสิ่งพิมพ์ต้นฉบับลงบนฟิล์ม หรือกระดาษทึบแสงให้มีขนาดเล็ก ไม่สามารถอ่านด้วยตาเปล่าได้ ต้องใช้เครื่องอ่านที่ขยายภาพให้เท่ากับต้นฉบับเดิม เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บสิ่งพิมพ์
วัสดุย่อส่วนมีหลายชนิดได้แก่1) ไมโครฟิล์ม (Microfilms) คือการถ่ายภาพย่อส่วนจากต้นฉบับเดิมลงบนฟิล์มโปร่งแสงหรือทึบแสง ขนาด 16 มม. หรือ 35 มม. ความยาวประมาณ 100 ฟุต อัตราย่อส่วนตั้งแต่ 15:1 – 40:12) ไมโครฟิช (Microfiches) คือการถ่ายภาพย่อส่วนจากต้นฉบับเดิมลงบนฟิล์มโปร่งแสง ขนาด 4 นิ้ว x 6 นิ้ว อัตราย่อส่วนตั้งแต่ 15:1– 40:1 ไมโครฟิช 1 แผ่นบันทึกภาพได้ประมาณ 98 ภาพ ส่วนบนของแผ่นฟิล์มจะให้รายละเอียดของสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ ซึ่งอ่านได้ด้วยตาเปล่า3) อัลตราฟิช (Ultrafiches) คือไมโครฟิชที่บันทึกภาพย่อส่วนขนาดเล็กมาก อัตราย่อส่วนตั้งแต่ 115:1 – 500:1 แผ่นฟิล์มขนาด 4 นิ้ว x 6 นิ้วสามารถบันทึกภาพได้ถึง 400 ภาพ4) ไมโครโอเปค (Micro Opaque) เป็นการย่อส่วนสิ่งพิมพ์ลงบนกระดาษทึบแสงด้วยการพิมพ์ วัสดุย่อส่วนประเภทนี้มีหลายขนาด มีชื่อทางการค้าว่า Microcard, Microprint เป็นต้น
2. โสตวัสดุ (Audio Materials) คือวัสดุที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดความหมายของเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ได้แก่
2.1 แผ่นเสียง (Phonodisc) คือวัสดุบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็นร่องบนพื้นผิวของแผ่นวัตถุ ไม่สามารถลบหรือบันทึกใหม่ได้
2.2 เทปบันทึกเสียง (Phonotape) คือแถบแม่เหล็กที่ใช้บันทึกเสียง สามารถบันทึกเสียงลบเสียงหรือบันทึกใหม่ได้
2.3 แผ่นคอมแพคท์ดิสก์หรือซีดี (Compact Disc) คือวัสดุบันทึกเสียงที่ทำด้วยโลหะหรือพลาสติกคล้ายแผ่นเสียง มีความคงทนในการใช้งาน มีความจุสูง คุณภาพของเสียงสดใสชัดเจนกว่าแผ่นเสียง
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio – Visual Materials) คือวัสดุที่บันทึกทั้งภาพและเสียงควบคู่กันไป ได้แก่
3.1 ภาพยนตร์ (Motion Picture) คือภาพถ่ายที่บันทึกลงบนฟิล์มโปร่งใส ภาพเรียงลำดับต่อกันตามความยาวของฟิล์ม บันทึกเนื้อหาเรื่องราวทั้งบันเทิงคดี สารคดี เมื่อนำมาฉายจะทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้เป็นธรรมชาติ
3.2 แถบวีดีทัศน์ (Video Tape) หรือวีดีโอเทป คือวัสดุที่ใช้บันทึกภาพและเสียงลงบนแถบแม่เหล็ก โดยใช้เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์และฉายภาพทางเครื่องรับโทรทัศน์
3.3 ภาพนิ่งหรือภาพเลื่อนประกอบเสียง (Slides/Filmstrips Multivision) คือภาพที่มีเสียงบรรยายหรือเสียงเพลงประกอบคล้ายภาพยนตร์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials)วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง วัสดุห้องสมุดที่บันทึกความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ ข้อเท็จจริง หรือความบันเทิงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิคส์ อาจบันทึกข้อมูลบนแถบแม่เหล็ก (Magnetic Tape) หรือจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (Floppy Disk) โดยบันทึกเป็นอักขระแบบดิจิตอล (Digital) ใช้เป็นรหัสแทนตัวเลข ตัวอักษรต่าง ๆ หรือจุดภาพ (Pixel) มีวิธีการจัดระบบข้อมูลให้ค้นหาได้โดยสะดวก และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่าฐานข้อมูล (Database) แบ่งได้เป็น 6 ประเภท ( สมพิศ คูศรีพิทักษ์. 2540 : 52-57 ) ตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ ได้แก่
1. ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Database) คือฐานข้อมูลหลักของห้องสมุดที่เก็บบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมของวัสดุทุกชนิดในห้องสมุด ปัจจุบันมีการผลิตฐานข้อมูลประเภทนี้ออกมาในรูปของซีดีรอม (CD-ROM) ออกจำหน่ายหรือร่วมกันให้บริการผ่านบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
2. ฐานข้อมูลตัวเลข (Numeric Database) คือฐานข้อมูลทางสถิติบันทึกข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับสถิติ ทฤษฎี สูตร สมการต่าง ๆ ตลาดหุ้น ธุรกิจ
3. ฐานข้อมูลเต็มรูป (Full-Text Database) คือฐานข้อมูลที่บันทึกเรื่องราวหรือข้อมูลที่สมบูรณ์ทั้งหมดไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อต้องการใช้ข้อมูลสามารถเรียกออกมาอ่านได้เหมือนกันกับการอ่านหนังสือ
4. ฐานข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Database) คือฐานข้อมูลเต็มรูปชนิดหนึ่งซึ่งบันทึกข้อมูลโดยการถ่ายภาพหรือการอ่านเอกสารด้วยเครื่องอ่านเอกสาร (Scanner)
5. ฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disc Read Only Memory) คือการบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ลงแผ่นซีดี บันทึกได้ทั้งอักขระภาพและเสียง มีความจุสูง ข้อมูลที่บันทึกมีทั้งในลักษณะที่เป็นข้อมูลบรรณานุกรมและที่เป็นข้อมูลเต็มรูป
6. ฐานข้อมูลสื่อประสม (Multimedia Database) คือฐานข้อมูลที่ ......


ระบบทะเบียนทรัพยากร - Cataloguing
Fระบบยืม- คืน – จอง - Circulation
Fระบบงานสืบค้น - Searching สืบค้นได้จาก
1. ชื่อเรื่อง - Title
2. หัวเรื่อง - Subject
3. ชื่อผู้แต่ง - Author
4. คำช่วยค้น - Keg Word
5. ระบบทะเบียนสมาชิก - Member
6. เลขหมู่ - Dewey
ห้องสมุดจัดมุมความรู้ไว้บริการ ดังนี้
1. มุมเฉลิมพระเกียรติ
2. สืบค้นข้อมูลหนังสือจากโปรแกรม E - Library
3. มุมสบายๆ คลายเครียด
4. สืบค้นข้อมูลทาง internet ( เฉพาะนักเรียน ม.ปลาย)
5. ห้องสมุดธรรมชาติ
6. หนังสือจอง
7. มุมอลังการวิถีอีสาน
8. แนะนำหนังสือใหม่และหนังสือดีที่อ่าน
9. มุมวารสาร-หนังสือพิมพ์
10. มุมหนังสืออ้างอิง
11. แนะนำยอดนักอ่านประจำเดือน
12. มุมป้ายนิเทศ-มุมความรู้

5 ลักษณะที่ดี ( 5 S )การบริหารจัดการห้องสมุด
ทรัพยากรสารสนเทศ - Stock เป็นห้องสมุด ที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่า สอดคล้องกับเป้าหมายความต้องการของ บุคลากรในหน่วยงาน
สถานที่และบรรยากาศภายใน - Space เป็นห้องสมุดที่มีสถานที่สวยงาม และมีบรรยากาศที่สะดวกสบายเอื้อต่อการเรียนรู้ และความสนใจของผู้ใช้บริการเป็นศูนย์รวมการ พบปะของคนในสังคมที่สนใจใฝ่รู้
บุคลากร - Staff เป็นห้องสมุดที่มีบุคลากร มีความรู้ เชี่ยวชาญในการช่วยผู้ใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ มีจิตสำนึกในการบริการที่ดี มีความสามารถในการจัดทรัพยากร สารสนเทศที่เป็นเนื้อหา และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นเครื่องมือ
บริการ - Service เป็นห้องสมุดที่มีบริการที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวก และทำให้ผู้ใช้บริการสบายใจ และมีความสุขในการเข้ามาใช้บริการห้องสมุด
ระบบงาน - System เป็นห้องสมุดที่มีระบบงานที่คล่องตัวทั้งงานเทคนิค และ งานบริการ ช่วยให้ผู้เข้ามาใช้เข้าถึงสารสนเทศและบริการสารสนเทศได้รวดเร็วตรงตามความต้องการ

ระเบียบการใช้ห้อง internet

1. ห้อง internet เปิดบริการเฉพาะนักเรียน ม.ปลายเท่านั้น
เวลาที่เปิดใช้ 07.00 – 08.00 , 12.30 – 13.30 , 15.30 – 17.30 น. หรือในคาบว่างของนักเรียน
2. นักเรียนที่จะเข้าใช้ห้อง internet ต้องแจ้งขอใช้และรับบัตรที่ เคาร์เตอร์ยืม - คืน เท่านั้น
3. หลังใช้ internet ให้คืนบัตรยืมที่เคาร์เตอร์ยืม - คืน
4. ไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่ได้ขอใช้ เข้าใช้ห้อง internet โดยเด็ดขาด
5. ไม่อนุญาตให้นำกระเป๋า เครื่องใช้ ของขบเคี้ยว อาหาร น้ำ เข้าไปในห้อง internet
6. การใช้ internet 1 เครื่อง อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 คน
7. ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคอมฯเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง แชทรูมฯลฯ ฝ่าฝืนตัดสินการใช้ 1 เดือน ปิดประกาศชื่อผู้ฝ่าฝืนให้ทุกคนทราบ
8. ห้ามเปลี่ยนแปลงระบบการใช้งานในเครื่องคอม หน้าจอหรือส่วนอื่นๆของจอคอมฯ โดยเด็ดขาด ฝ่าฝืนตัดสินการใช้ 1 เดือน ปิดประกาศชื่อผู้ฝ่าฝืนให้ทุกคนทราบ
ระเบียบการใช้บริการห้องสมุด
ระเบียบการใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนหนองหานวิทยา
เพื่อให้บริการห้องสมุดโรงเรียนหนองหานวิทยาได้ดำเนินไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ทางโรงเรียนกำหนดระเบียบการใช้ห้องสมุดเป็นแนวทาง

สำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุดเป็นแนวทางดังต่อไปนี้
เวลาเปิดทำการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07.00 น – 17.30 น.
การใช้ห้องสมุดเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครูผู้สอนครูที่ต้องการให้นักเรียนเข้าใช้โปรดแจ้งล่วงหน้า 1 คาบเรียนเป็นอย่างน้อย
ผู้มีสิทธิ์ในการใช้บริการห้องสมุด
1. ครู - นักเรียนปัจจุบันของโรงเรียนหนองหานวิทยา
2. ผู้ปกครองและผู้สนใจภายนอกสามารถใช้บริการได้
3. มีสิทธิ์ในการยืมหนังสือเฉพาะผู้เป็นสมาชิกเท่านั้น

การยืมหนังสือ
1. แจ้งเลขประจำตัวนักแก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
2. ผู้ที่ใช้เลขทะเบียนอื่นยืมจะถูกตัดสิทธิ์การเป็นสมาชิกและงดการใช้บริการทุกประเภทของห้องสมุด
3. การยืมหนังสือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทำการยืมด้วยโปรแกรมห้องสมุดและประทับวันที่กำหนดการส่งในหนังสือเป็นหลักฐานการยืม
4. วารสาร – อ้างอิง ห้ามยืมออกนอกบริเวณห้องสมุด
5. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นยืมได้ไม่เกิน 3 เล่ม อยู่ในครอบครองไม่เกิน 5 เล่ม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายยืมได้ไม่เกิน 3 เล่ม อยู่ในครอบครองไม่เกิน 7 เล่ม โดยมีกำหนดส่ง 7 วัน
6. ครูอาจารย์ยืมได้ไม่เกิน 3 เล่ม กำหนดส่งไม่เกิน 1 เดือน

การส่งหนังสือ
1. ส่งหนังสือเกินกำหนดจะถูกปรับดังนี้ หนังสือทั่วไปวันละ 1บาท/เล่ม หนังสือนอกเวลาวันละ 2บาท/เล่ม
2.หนังสือหายปรับตามราคาหนังสือบวกค่าวัสดุเตรียมหนังสือออกบริการ 30 บาท หรือแล้วแต่ความเหมาะสม
3. ผู้ที่ยังไม่ชำระเงินค่าปรับหรือค่าเสียหายของหนังสือจะถูกถอดสิทธิ์ในการยืมจนกว่าจะชำระเรียนร้อย
4. ผู้ที่ทำลายหนังสือหรือนำหนังสือออกนอกบริเวณห้องสมุดโดยมิได้รับอนุญาต จะถูกรายงานชื่อต่อฝ่ายปกครองนักเรียนทันที่และถูกปรับ 3 เท่า

อักษรย่อที่ใช้ในห้องสมุด
00-900 หนังสือวิชาการทั่วไป
อ. หนังสืออ้าอิง
น. หนังสือนวนิยาย
ด. หนังสือมุมเด็ก
ย. หนังสือเยาวชน
บ. หนังสือแบบเรียน
รส. หนังสือเรื่องสั้น

การจัดหนังสือห้องสมุดโรงเรียนหนองหานวิทยา
ห้องสมุดใช้การจัดหนังสือระบบดิวอี้ ( Dewy Decima Classification ) หรือ D.C ซึ่งแบ่งวิทยาการเป็น 10 หมวดใหญ่ๆดังนี้
000 ความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศึกษา
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ - เทคโนโลยี
700 ศิลปะและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ภูมิศาสตร์ - ประวัติศาสตร์ละการท่องเที่ยว


ข้อปฏิบัติการใช้อินเทอร์เน็ต

1. ปฏิบัติตามข้อปฎิบัติการเข้าใช้อินเทอร์เน็ต และข้อห้ามการใช้บริการอินเทอร์เน็ต
2. กรอกข้อมูลในแบบขอใช้บริการอินเทอร์เน็ต พร้อมยื่นบัตรหลักฐานต่าง ๆ
3. ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ได้วันละครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง
4. อนุญาตให้ใช้บริการเพื่อการศึกษา ค้นคว้า เท่านั้น
5. ผู้ขอใช้บริการต้องไม่ปฎิบัติการใด ๆ เกี่ยวกับข้อมูล อันเป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี
6. หากมีเหตุขัดข้องในเรื่องบริการ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เคาเตอร์

เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด

http://tanee.psu.ac.th : หอสมุด John F Kennedy มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี http://www.wphat.com : ห้องสมุดวิทยพัฒน์ http://www.riclib.nrct.go.th : ห้องสมุดศูนย์ข้อสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ http://stang.li.mahidol.ac.th : ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข (ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล) http://www.ipst.ac.th/library/library.html : Library Service by IPST (สสวท.) http://www.ipic.moc.go.th/ip1.html : ห้องสมุดกรมทรัพย์สินทางปัญญา http://library.hsri.or.th : ห้องสมุด สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข http://www.med.cmu.ac.th/library : ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://md3.md.chula.ac.th : ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.จุฬาฯ http://www.doae.go.th/library/index.html : ห้องสมุดความรู้การเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตร http://lib.sac.or.th : ห้องสมุด ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร http://beethoven.cpe.ku.ac.th : NAiST Research Laboratory http://www.childthai.org/cic/c001.htm : ห้องสมุดสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก http://www.mmi.chula.ac.th/library/library.htm : ห้องสมุดสถาบันพาณิชยนาวี http://www.library.tu.ac.th/puey/puey.html : Puey Ungphakorn Library http://www.bot.or.th/libr/public/center/bot11.html : หอสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย http://www.krisdika.go.th/html/fslaw.htm : ห้องสมุดกฏหมาย http://www.parliament.go.th/library : ห้องสมุดรัฐสภา http://www.rtaf.mi.th/thai/library.html : ห้องสมุด Web Site ของกองทัพอากาศไทย http://sutlib1.sut.ac.th/library/2f_libra.html : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี http://kanchanapisek.or.th/kp1/lib : ห้องสมุดความรู้ (รวบรวมคำศัพท์ที่น่าสนใจ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา) http://www.tat.or.th/tat/library : ห้องสมุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย http://lib.payap.ac.th : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ http://library.rint.ac.th : สถาบันวิทยบริการ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช http://www.stjohn.ac.th/lib : หอสมุดมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น http://library.spu.ac.th : หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีปทุม http://library2.nida.ac.th : หอสมุด สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ http://www.rsu.ac.th/library : ห้องสมุด ม.รังสิต http://www.lib.nu.ac.th : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร http://arc.dusit.ac.th : ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) สถาบันราชภัฎสวนดุสิต http://library.msu.ac.th : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://malib.lib.kmitl.ac.th : หอสมุดกลางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง http://www.car.chula.ac.th : สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalinet) http://library.tu.ac.th : สำนักหอสมุด ม.ธรรมศาสตร์ http://cenlibk.bu.ac.th : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://www.lib.cmu.ac.th : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.library.su.ac.th : หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.lib.ru.ac.th : หอสมุดกลาง ม.รามคำแหง http://library.kmitnb.ac.th : หอสมุดกลางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ http://library.kku.ac.th : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://wwwclib.psu.ac.th : หอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่) http://clm.wu.ac.th : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ http://lib.chandra.ac.th : หอสมุดมานิจชุมสาย (สถาบันราชภัฎจันทรเกษม) http://www.kmutt.ac.th/wwwnew/r_d/lib_serv.html#ser : สำนักห้องสมุดและบรรณสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี http://library.rits.ac.th : สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี http://www.ubu.ac.th/home/ubulib/cen_lib.html : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี http://www.lib.ku.ac.th : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.li.mahidol.ac.th : หอสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล (Mulinet) http://library.au.ac.th : ห้องสมุด ม.เอแบค http://library.sk.ac.th : ห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบ ... ความคิด http://sglib.cjb.net : ห้องสมุดกลางโรงเรียนเซนต์คาเบรียล http://th.members.tripodasia.com/tnlb : ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ http://www.nectec.or.th/org/tab/service/services.htm : ห้องสมุดแถบเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น